บทความสำหรับรายการวิทยุ เรื่องที่ 1 แนวพระราชดำริเรื่องการพัฒนาดินที่มีปัญหา(ตอนที่ 1)
ในโอกาสที่สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2555 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน ถึงพระอัจฉริยภาพในการพัฒนาดินที่มีปัญหาของประเทศไทย และกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติตลอดพระชนม์ชีพ และมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก ขณะเดียวกันก็ได้เสนอให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดำเนินการต่อไป เป็นที่น่ายินดีว่าองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมในโอกาสวันดินโลกครั้งแรก ที่กรุงโรม ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เพื่อให้พศกนิกรชาวไทยได้ทราบถึงพระกรณียกิจด้านการพัฒนาดิน และผลสำเร็จอันเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงขอนำเรื่องแนวพระราชดำริเรื่องการพัฒนาดินที่มีปัญหา มาเสนอท่านผู้ฟัง (ชม) ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่เลี้ยงชีพโดยอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของดินมาช้านาน แผ่นดินจึงเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ด้วยพระปรีชาญาณอันยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของดิน อันเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ เช่น บางแห่งเป็นดินเปรี้ยว ดินด่าง ดินเค็ม และบางแห่งก็ไม่มีดินเลย ซึ่งทรงเรียกดินเหล่านี้ว่า "ดินแร้นแค้น" นอกจากนี้ ความเสื่อมโทรมของดินยังเกิดจากการกระทำอันรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของประชาชน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า และการใช้พื้นที่โดยขาดการอนุรักษ์ จึงพระราชทานแนวพระราชดำริในการป้องกัน แก้ไข และพัฒนาทรัพยากรดินเป็นอเนกประการ ซึ่งล้วนแต่นำประโยชน์สุขมาสู่เกษตรกรทั่วประเทศ
แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการฟื้นฟู บูรณะ พัฒนา และอนุรักษ์ทรัพยากรดิน
มีหลักการที่สำคัญ ๕ ประการ ในวันนี้จะนำเสนอ 3 ประการแรก คือ
- ประการที่ 1 การบรรเทาปัญหาที่ราษฎรกำลังประสบอยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นอยู่เสมอว่า โครงการของพระองค์เป็นโครงการที่มุ่งช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ราษฎรกำลังประสบอยู่ ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า "ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก .....เป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน แต่ปวดหัวใช้ยาแก้ปวด..... หรือยาอะไรก็ตามแก้ปวดหัวมัน ไม่ได้แก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่จะคิดได้"
- ประการที่ 2 การพัฒนาตามขั้นตอนอย่างประหยัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นการพัฒนาที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในลักษณะการพึ่งตนเอง ทรงใช้คำว่า "ระเบิดจากข้างใน" นั่นคือ ทำให้ชุมชน หมู่บ้าน มีความเข็มแข็งก่อนเสียแล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปสู่ชุมชนหมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว พระองค์มีพระราชประสงค์เพื่อช่วยเหลือราษฎรตามความจำเป็นและความเหมาะสมกับสภาพ เพื่อให้ราษฎรเหล่านั้นสามารถพึ่งตนเองได้ และออกมาสู่สังคมภายนอกได้อย่างไม่ลำบาก
- ประการที่ 3 การพัฒนาเกษตรกรให้สามารถพึ่งตนเองได้ การพัฒนาตามแนวพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาในเบื้องต้นด้วยการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้มี ความแข็งแรงที่จะมีแนวคิดในการดำรงชีวิตต่อไป ขั้นต่อไปก็คือการพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพและสามารถ "พึ่งตนเองได้" ในที่สุด ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “.....การเข้าใจถึงสถานการณ์ของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่ขาดควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้นในการช่วยเหลือแต่ละครั้งแต่ละกรณี จำเป็นที่เราจะพิจารณาถึงความต้องการและความจำเป็นก่อน และต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เราจะช่วยให้เข้าใจด้วยว่าเขาอยู่ในฐานะอย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร เพียงใด อีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้น ควรยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป....”
จากสาระที่นำมาเสนอนี้ย่อมช่วยให้ทุกท่านทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” ที่แท้จริง สวัสดีครับ (ค่ะ)
บทความสำหรับรายการวิทยุ เรื่องที่ 2 แนวพระราชดำริเรื่องการพัฒนาดินที่มีปัญหา(ตอนที่ 2)
ในโอกาสที่สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2555 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน ถึงพระอัจฉริยภาพในการพัฒนาดินที่มีปัญหาของประเทศไทย และกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติตลอดพระชนม์ชีพ และมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก ขณะเดียวกันก็ได้เสนอให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดำเนินการต่อไป เป็นที่น่ายินดีว่าองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมในโอกาสวันดินโลกครั้งแรก ที่กรุงโรม ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เพื่อให้พศกนิกรชาวไทยได้ทราบถึงพระกรณียกิจด้านการพัฒนาดิน และผลสำเร็จอันเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงขอนำเรื่องแนวพระราชดำริเรื่องการพัฒนาดินที่มีปัญหา มาเสนอท่านผู้ฟัง (ชม)
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่เลี้ยงชีพโดยอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของดินมาช้านาน แผ่นดินจึงเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ด้วยพระปรีชาญาณอันยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของดิน อันเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ เช่น บางแห่งเป็นดินเปรี้ยว ดินด่าง ดินเค็ม และบางแห่งก็ไม่มีดินเลย ซึ่งทรงเรียกดินเหล่านี้ว่า "ดินแร้นแค้น" นอกจากนี้ ความเสื่อมโทรมของดินยังเกิดจากการกระทำอันรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของประชาชน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า และการใช้พื้นที่โดยขาดการอนุรักษ์ จึงพระราชทานแนวพระราชดำริในการป้องกัน แก้ไข และพัฒนาทรัพยากรดินเป็นอเนกประการ ซึ่งล้วนแต่นำประโยชน์สุขมาสู่เกษตรกรทั่วประเทศ
แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการฟื้นฟู บูรณะ พัฒนา และอนุรักษ์ทรัพยากรดิน มีหลักการที่สำคัญ ๕ ประการ ในวันนี้จะนำเสนอประการที่ 4 และ 5 คือ
- ประการที่ 4 การสร้างเสริมและเผยแพร่ความรู้และเทคนิควิชาการที่เหมาะสมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าควรเสริมสร้างสิ่งที่ชาวบ้านชนบทขาดแคลนและต้องการ ได้แก่ความรู้ในการทำมาหากิน และการทำการเกษตรโดยให้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "ตัวอย่างของความสำเร็จ" มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฎรในชนบทมีโอกาสได้รู้ได้เห็นตัวอย่างของความสำเร็จนี้และนำไปปฏิบัติได้เอง จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศรวม ๖ แห่ง เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา ทดลองวิจัย และแสวงหาความรู้ และเทคนิควิชาการที่เหมาะสมที่ราษฎร "รับได้" สามารถนำไป “ดำเนินการเองได้” และเป็นวิธีการที่ “ประหยัด” เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพของราษฎรที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศนั้นๆ เมื่อได้ผลจากการศึกษาแล้ว จึงนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป ทรงปรารถนาให้ตัวอย่างของความสำเร็จทั้งหลายกระจายไปสู่ท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศและสามารถนำไปปฏิบัติให้ได้ผลอย่างจริงจัง
- ประการที่ 5 การพัฒนาทรัพยากรดิน ควบคู่กับการส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เนื่องจากในการพัฒนาประเทศในระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ได้เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นไปอย่างฟุ่มเฟือย โดยมิได้ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม จนในที่สุดทรัพยากรธรรมชาติได้เสื่อมโทรมลงอย่างเห็นได้ชัด พระองค์ทรงตระหนักว่าการพัฒนาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติจะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตร จึงทรงมุ่งพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในระยะยาว ทรงสนพระราชหฤทัยการทำนุบำรุงปรับปรุงสภาพของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ หรือการประมง โดยมีพระราชประสงค์ให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้คงอยู่ในสภาพที่มีผลดีต่อการเพิ่มผลิตภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงโปรดเกล้าฯให้ดำเนินโครงการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติหลายโครงการ เช่น โครงการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร โครงการป่ารักน้ำ โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า โครงการพัฒนาที่ดิน โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ซึ่งเน้นการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นต้น ทั้งนี้ ก็เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนสู่สภาพเดิม นอกจากนี้ยังทรงส่งเสริมให้ราษฎรรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างประหยัด เกิดประโยชน์สูงสุด และถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยทรงคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอยู่เสมอ
จากหลักการในแนวพระราชดำริข้างต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงส่งเสริมสนับสนุนให้ดำเนินโครงการพัฒนาทรัพยากรดินและอนุรักษ์ดินหลายโครงการ ทุกโครงการล้วนสัมฤทธิ์ผลตามพระราชปณิธานอย่างแท้จริง
จากสาระที่นำมาเสนอนี้ย่อมช่วยให้ทุกท่านทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” ที่แท้จริง สวัสดีครับ (ค่ะ)
บทความสำหรับรายการวิทยุ เรื่องที่ 3 การอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก
ในโอกาสที่สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2555 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน ถึงพระอัจฉริยภาพในการพัฒนาดินที่มีปัญหาของประเทศไทย และกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติตลอดพระชนม์ชีพ และมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก ขณะเดียวกันก็ได้เสนอให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดำเนินการต่อไป เป็นที่น่ายินดีว่าองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมในโอกาสวันดินโลกครั้งแรก ที่กรุงโรม ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เพื่อให้พศกนิกรชาวไทยได้ทราบถึงพระกรณียกิจด้านการพัฒนาดิน และผลสำเร็จอันเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงขอนำเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก มาเสนอท่านผู้ฟัง (ชม) แม้ว่าดินเป็นรากฐานของการเกษตรของประเทศไทย แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศก็อาศัยดินเลี้ยงชีพโดยมิได้ดูแลรักษาอย่างเหมาะสมควบคู่กันไป ความเสื่อมโทรมของดินจึงปรากฏขึ้นอย่างแพร่หลาย ด้วยพระปรีชาญาณอันลึกซึ้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักอย่างถ่องแท้ถึงความรุนแรงและอันตรายของความเสื่อมโทรมดังกล่าวนี้ รวมทั้งความเสียหายที่เกิดจากธรรมชาติด้วย จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการฟื้นฟู บูรณะพัฒนา และอนุรักษ์ทรัพยากรดินเป็นอเนกประการ ซึ่งล้วนแต่นำประโยชน์สุขมาสู่พสกนิกร
แนวพระราชดำริดังกล่าวข้างต้นเป็นไปตามหลักการ ๕ ประการ คือ การบรรเทาปัญหาที่ดินที่ราษฎรกำลังประสบอยู่ การพัฒนาควรเป็นไปตามขั้นตอนและประหยัด การพัฒนาเกษตรกรให้สามารถพึ่งตนเองได้ การเสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้และเทคนิควิชาการที่เหมาะสม และการพัฒนาทรัพยากรดินควบคู่กับการส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงส่งเสริมและสนับสนุนให้ดำเนินโครงการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรดินที่เป็นประโยชน์ยิ่งหลายโครงการ
การชะล้างและพังทลายของดินเป็นสาเหตุหลักของความสูญเสียธาตุอาหารพืช และความเสื่อมถอยของผลิตภาพในการผลิตพืชของดิน แต่ละปีประมาณว่าผิวหน้าดินและปุ๋ยธรรมชาติถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำคิดเป็นมูลค่าถึง ๓,๗๗๕ ล้านบาท และรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขุดลอกตะกอนดินที่ทับถมอยู่ในแหล่งน้ำนั้น ไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท การสร้างคันดินกั้นน้ำร่วมกับมาตรการอื่นๆ ดังที่ได้เคยดำเนินการมาแล้ว แม้จะให้ผลดีระดับหนึ่ง ก็มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งในการก่อสร้างและการบำรุงรักษา นอกจากนี้เกษตรกรยังให้การยอมรับน้อย จึงทรงแนะนำและสนับสนุนให้ใช้มาตรการหญ้าแฝกแทน ทั้งในพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่ป่า เนื่องจากหญ้าแฝกมีรากหยั่งลึก และแพร่กระจายเป็นแผ่นลงไปในดินอย่างถ้วนทั่ว จึงทำหน้าที่กั้นน้ำแทนคันดินได้เป็นอย่างดี พร้อมกับยึดดินไว้อย่างแข็งแรงอีกด้วย ค่าใช้จ่ยในการบำรุงรักษาก็ไม่สูง เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงกำหนดให้พุทธศักราช ๒๕๓๕ เป็นปีหญ้าแฝก โดยมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมดำเนินการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกอย่างกว้างขวาง ควบคู่กับการส่งเสริมให้เกษตรกรทดลองใช้หญ้าแฝกป้องกันการชะล้างหน้าดิน ผลการดำเนินการดังกล่าวนี้พอสรุปได้ว่า มาตรการหญ้าแฝกเป็นวิธีอนุรักษ์ดินและน้ำที่ประหยัด และเกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้สะดวก ปัจจุบันจึงเป็นวิธีอนุรักษ์ดินและน้ำที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในชนบท
พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องหญ้าแฝกนี้ นอกจากช่วยเสริมสร้างจิตสำนึก การยอมรับ และความเชื่อมั่นของเกษตรกรในระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมแล้ว ยังช่วยกอบกู้ทรัพยากรดินที่เสื่อมโทรมจนใกล้ถึงจุดวิกฤติให้คืนสู่สภาพที่ดีโดยเร็วอีกด้วย ธนาคารโลกตระหนักถึงคุณประโยชน์อันใหญ่หลวงต่อมวลมนุษย์สืบเนื่องจากพระราชดำริดังกล่าว จึงได้เผยแพร่พระปรีชาสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ทั่วโลก พร้อมกับขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นจารึกเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการถวายราชสดุดีในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ ในปีเดียวกันนี้ สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำนานาชาติก็ได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสทูลเกล้าฯ ถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติเป็นพระมหากษัตริย์นักอนุรักษ์ดินและน้ำดีเด่นของโลกอีกด้วย จากสาระที่นำมาเสนอนี้ย่อมช่วยให้ทุกท่านทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” ที่แท้จริง สวัสดีครับ (ค่ะ)
บทความสำหรับรายการวิทยุ เรื่องที่ 4 การจัดการลุ่มน้ำและการปรับปรุงสภาพดิน
ในโอกาสที่สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2555 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน ถึงพระอัจฉริยภาพในการพัฒนาดินที่มีปัญหาของประเทศไทย และกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติตลอดพระชนม์ชีพ และมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก ขณะเดียวกันก็ได้เสนอให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดำเนินการต่อไป เป็นที่น่ายินดีว่าองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมในโอกาสวันดินโลกครั้งแรก ที่กรุงโรม ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เพื่อให้พศกนิกรชาวไทยได้ทราบถึงพระกรณียกิจด้านการพัฒนาดิน และผลสำเร็จอันเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงขอนำเรื่องการจัดการลุ่มน้ำและการปรับปรุงสภาพดิน มาเสนอท่านผู้ฟัง (ชม)
- การจัดการลุ่มน้ำ จากการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบดีว่าเกษตรกรส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก แต่สภาพของลุ่มน้ำส่วนใหญ่มีความเสื่อมโทรมอย่างมาก จึงทรงเน้นการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำเป็นพิเศษ โดยโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น ที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อดำเนินการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมของการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธารเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งรูปแบบการพัฒนาในด้านอื่นๆ ที่จะอำนวยให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ได้พระราชทานแนวทางการพัฒนาไว้ว่า “พื้นที่ตอนบนเหนืออ่างเก็บน้ำให้เป็นการพัฒนาป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร ในระหว่างกลาง ก็ให้พิจารณากิจกรรมด้านปศุสัตว์ และกสิกรรม ส่วนปลายทางหรือพื้นที่ตอนล่างเป็นเรื่องของประมง” ข้อมูลอันมีคุณค่าจากโครงการนี้ช่วยให้ราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ โดยประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามแบบแผนที่ทรงแนะนำ และอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารไปพร้อม ๆ กัน พระปรีชาสามารถเป็นเลิศในการกำหนดแนวทางพัฒนาและจัดการลุ่มน้ำ ช่วยกอบกู้ให้ประเทศไทยมีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์และยั่งยืนตลอดไป
- การปรับปรุงสภาพดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักเป็นอย่างดีว่าพื้นที่นับล้านไร่ในภูมิภาคต่างๆของประเทศมีปัญหาทั้งทางเคมีและทางฟิสิกส์อยู่หลายลักษณะ และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ราษฎรทำการเพาะปลูกได้ผลผลิตต่ำ จึงมีฐานะยากจน เช่น พื้นที่ดินพรุ ซึ่งเป็นทั้งดินอินทรีย์และดินเปรี้ยวจัด ในภาคใต้ พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดและพื้นที่ดินเค็มในภาคกลาง พื้นที่ดินทรายและพื้นที่ดินตื้นในหลายภูมิภาค จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพิ่มขึ้นอีก ๕ ศูนย์ โดยให้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ดินมีปัญหาให้การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นตัวอย่างเป็นภารกิจสำคัญของแต่ละศูนย์ โดยเน้นการพัฒนาด้านการเกษตรสมบูรณ์แบบ ทั้งการแก้ไขปัญหาเดิมของดิน การพัฒนาให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การจัดระบบเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์อย่างเหมาะสม การพัฒนาแหล่งน้ำ การฟื้นฟูสภาพป่า และการส่งเสริมศิลปาชีพและหัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อเป็นแหล่งรายได้เสริม
จากสาระที่นำมาเสนอนี้ย่อมช่วยให้ทุกท่านทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” ที่แท้จริง สวัสดีครับ (ค่ะ)
บทความสำหรับรายการวิทยุ เรื่องที่ 5 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ในโอกาสที่สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2555 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน ถึงพระอัจฉริยภาพในการพัฒนาดินที่มีปัญหาของประเทศไทย และกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติตลอดพระชนม์ชีพ และมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก ขณะเดียวกันก็ได้เสนอให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดำเนินการต่อไป เป็นที่น่ายินดีว่าองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมในโอกาสวันดินโลกครั้งแรก ที่กรุงโรม ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เพื่อให้พศกนิกรชาวไทยได้ทราบถึงพระกรณียกิจด้านการพัฒนาดิน และผลสำเร็จอันเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงขอนำเรื่องศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มาเสนอท่านผู้ฟัง (ชม)
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๖ ศูนย์ ได้แก่
๑) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งดำเนินโครงการดังต่อไปนี้
(๑) ศูนย์บริการพัฒนาบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
(๒) โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณเขาชะโงก จังหวัดนครนายก
๒) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งดำเนินโครงการต่อไปนี้
(๑) โครงการสวนยางเขาตันหยง อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
(๒) โครงการพัฒนาหมู่บ้านปีแนมูดอ กิ่งอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
(๓) โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์เกษตรมูโนะ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
๓) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งดำเนินโครงการ การศึกษาวิธีการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี
๔) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี
๕) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
๖) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งดำเนินโครงการ
(๑) โครงการศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(๒) โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จ ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(๓) โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(๔) โครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย
จากสาระที่นำมาเสนอนี้ย่อมช่วยให้ทุกท่านทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” ที่แท้จริง สวัสดีครับ (ค่ะ)
บทความสำหรับรายการวิทยุ เรื่องที่ 6 การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด
ในโอกาสที่สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2555 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน ถึงพระอัจฉริยภาพในการพัฒนาดินที่มีปัญหาของประเทศไทย และกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติตลอดพระชนม์ชีพ และมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก ขณะเดียวกันก็ได้เสนอให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดำเนินการต่อไป เป็นที่น่ายินดีว่าองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมในโอกาสวันดินโลกครั้งแรก ที่กรุงโรม ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เพื่อให้พศกนิกรชาวไทยได้ทราบถึงพระกรณียกิจด้านการพัฒนาดิน และผลสำเร็จอันเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงขอนำเรื่อง การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด มาเสนอท่านผู้ฟัง (ชม)
ดินเปรี้ยวจัดของประเทศไทยมีกรดกำมะถันอยู่มากจนเป็นพิษต่อพืช สภาพกรดที่รุนแรงยังก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องอีกด้วย กล่าวคือ มีการปลดปล่อยไอออนของโลหะที่เป็นพิษต่อพืช และธาตุอาหารบางอย่างอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์น้อยต่อพืช ปัญหาดินเปรี้ยวจัดจึงสลับซับซ้อนอย่างยิ่ง แต่ด้วยพระปัญญาอันลึกซึ้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรอบรู้เป็นอย่างดีว่า การขังน้ำย่อมสร้างดุลยภาพทางเคมีขึ้นใหม่ในดินดังกล่าว โดยดินจะปลดปล่อยกรดและไอออนอันเป็นพิษออกมาสู่น้ำมากขึ้น การระบายน้ำในช่วงเวลาถัดไปที่เหมาะสมจึงย่อมจะช่วยลดสภาพอันไม่พึงประสงค์นี้ลงได้ ด้วยกลไกธรรมชาติภายใต้การควบคุมน้ำดังกล่าวสภาพกรดในดินก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง และข้าวที่ปลูกก็ค่อย ๆ ให้ผลผลิตสูงขึ้น นอกจากนี้ การใส่ปูนในปริมาณและจังหวะที่เหมาะสมก็จะช่วยให้กระบวนการปรับปรุงดินเปรี้ยวบรรลุผลได้รวดเร็วขึ้น ประเทศไทยมีพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดไม่ต่ำกว่า ๘ ล้านไร่โดยประมาณ ดินเปรี้ยวจัดโดยมากจะพบตามพื้นที่พรุ บริเวณที่ราบลุ่มชายทะเล และบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางซึ่งโดยทั่วไปที่ใช้ทำนา แต่มักให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ หากปลูกโดยไม่มีการปรับปรุงคุณภาพดิน ในระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในพ.ศ.๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้พิจารณาปรับปรุงพื้นที่พรุดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า "ด้วยพื้นที่จำนวนมากในจังหวัดนราธิวาสเป็นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขังตลอดปี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ กสิกรจำนวนมากไม่มีที่ทำกิน แม้ระบายน้ำออกหมดแล้วยังยากที่จะใช้ประโยชน์ทางการเกษตรให้ได้ผล ทั้งนี้เนื่องจากดินมีสารไพไรท์ ทำให้เกิดกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้ดินเปรี้ยว ควรปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ดังนั้นจึงเห็นควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนาโดยให้มีหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการศึกษา และพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสาน และนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการพัฒนาพื้นที่พรุอื่นในโอกาสต่อไป" ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ตั้งอยู่ระหว่างบ้านพิกุลทอง และบ้านโคกสยาในพื้นที่ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส พื้นที่สวนใหญ่เป็นดินอินทรีย์ หรือดินพรุ ซึ่งอาจแบ่งพื้นที่พรุออกเป็น ๓ เขต ตามสภาพพื้นที่และการใช้ประโยชน์ คือ
๑) เขตสงวน เป็นเขตที่ป่าพรุยังคงสภาพสมบูรณ์ ต้องดำเนินการสงวนรักษาป่าไม้ไว้อย่างเข้มงวดเพื่อให้สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
๒) เขตอนุรักษ์ เป็นเขตที่ป่าพรุเสื่อมโทรมจากการถูกทำลายไปบางส่วน ได้ดำเนินการฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าดังเดิม
๓) เขตพัฒนา บริเวณนี้ถูกระบายน้ำออกไปบางส่วน และป่าถูกทำลายเพื่อใช้ในกิจกรรมด้านการเกษตร เป็นเขตที่กำหนดให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินงานร่วมกันพัฒนาพื้นที่โดยค้นคว้าวิจัยหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและจัดการดินในพื้นที่พรุ ให้สอดคล้องกับความต้องการของราษฎร
จากสาระที่นำมาเสนอนี้ย่อมช่วยให้ทุกท่านทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” ที่แท้จริง สวัสดีครับ (ค่ะ)
…………………………
บทความสำหรับรายการวิทยุ เรื่องที่ 7 โครงการแกล้งดิน
ในโอกาสที่สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2555 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน ถึงพระอัจฉริยภาพในการพัฒนาดินที่มีปัญหาของประเทศไทย และกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติตลอดพระชนม์ชีพ และมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก ขณะเดียวกันก็ได้เสนอให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดำเนินการต่อไป เป็นที่น่ายินดีว่าองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมในโอกาสวันดินโลกครั้งแรก ที่กรุงโรม ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เพื่อให้พศกนิกรชาวไทยได้ทราบถึงพระกรณียกิจด้านการพัฒนาดิน และผลสำเร็จอันเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงขอนำเรื่อง โครงการแกล้งดิน มาเสนอท่านผู้ฟัง (ชม)
โครงการแกล้งดิน เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ดำเนินการทดลองเร่งดินเปรี้ยวให้เป็นกรดจัด โดยวิธีการที่ทรงเรียกว่า "แกล้งดิน" การเร่งให้ดินเป็นกรดจัดนี้ เริ่มจากการทำให้ดินแห้งสลับเปียก เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของสารประกอบไพไรท์ในชั้นดินเลนกับออกซิเจนในอากาศ ปฏิกิริยาดังกล่าวจะส่งผลให้ดินปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดรุนแรงถึงระดับที่พืชไม่เจริญเติบโตและไม่ให้ผลผลิต การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด มีหลักการสำคัญ ๔ ประการคือ
๑) การควบคุมระดับน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน โดยให้น้ำใต้ดินอยู่เหนือชั้นดินที่มีสารประกอบไพไรท์ ซึ่งมักพบในระดับความลึกจากผิวดินประมาณ ๑๐๐-๑๕๐ เซนติเมตร
๒) การแก้ไขความเป็นกรดจัดโดยใช้น้ำชลประทานล้าง ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๒-๓ ปี และต้องดำเนินการต่อเนื่องกัน หรือการใช้วัสดุปูนขาวเพื่อสะเทินความเป็นกรดโดยใช้ในอัตรา ๒-๔ ตันต่อไร่ และใส่ทุก ๒-๔ ปี จากการศึกษาทดลองพบว่า การใช้น้ำล้างความเป็นกรดและสารพิษ การใส่หินปูนฝุ่นและปรับปรุงดินโดยใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน ข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงถึง ๔๐-๕๐ ถังต่อไร่ ซึ่งวิธีการใช้น้ำล้างนั้นเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอ ถึงแม้ว่าในปีแรกผลผลิตจะไม่ดีนักแต่ในปีต่อๆ มาผลผลิตจะสูงขึ้นถึงระดับที่พอใจ สำหรับวิธีการใส่หินปูนฝุ่นลงไปในนาข้าวนั้นการให้หินปูนสะเทินกรด แล้วใช้น้ำล้างสารพิษออกไปจากดินเป็นวิธีที่ให้ผลดีที่สุด
๓) การปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวจัด ซึ่งมักขาดธาตุอาหารพืชที่สำคัญ คือ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส จำเป็นต้องให้ธาตุอาหารทั้งสองในรูปของปุ๋ยเพิ่มเติมในอัตราที่ค่อนข้างสูงในช่วงแรก แล้วค่อยๆลดลงในภายหลัง
๔) การเลือกชนิดของพืชที่สามารถทนต่อความเปรี้ยวได้ดี เช่น ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ กข.๒๑ กข.๒๓ ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ส่วนพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล จะปลูกได้ต่อเมื่อดินเปรี้ยวได้รับการปรับปรุงแล้ว
นอกจากโครงการแกล้งดินแล้ว ในการฟื้นฟูพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในโครงการพิกุลทองยังมีการวิจัยเพื่อเลือกพันธุ์ไม้สำหรับใช้ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม การทดลองปลูกปาล์มน้ำมันในดินอินทรีย์ และการศึกษาการใช้ประโยชน์จากกากปาล์มน้ำมันเป็นอาหารเลี้ยงไก่พื้นเมืองอีกด้วย
จากสาระที่นำมาเสนอนี้ย่อมช่วยให้ทุกท่านทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” ที่แท้จริง สวัสดีครับ (ค่ะ)
บทความสำหรับรายการวิทยุ เรื่องที่ 8 การขยายผลโครงการแกล้งดิน
ในโอกาสที่สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2555 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน ถึงพระอัจฉริยภาพในการพัฒนาดินที่มีปัญหาของประเทศไทย และกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติตลอดพระชนม์ชีพ และมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก ขณะเดียวกันก็ได้เสนอให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดำเนินการต่อไป เป็นที่น่ายินดีว่าองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมในโอกาสวันดินโลกครั้งแรก ที่กรุงโรม ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เพื่อให้พศกนิกรชาวไทยได้ทราบถึงพระกรณียกิจด้านการพัฒนาดิน และผลสำเร็จอันเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงขอนำเรื่อง การขยายผลโครงการแกล้งดิน มาเสนอท่านผู้ฟัง (ชม)
จากผลการดำเนินการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังที่มีพระราชกระแสรับสั่งเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินบ้านโคกอิฐ-โคกใน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ ตอนหนึ่งว่า "เราเคยมาโคกอิฐ-โคกใน มาดูเขาชี้ตรงนั้นๆ เขาทำแต่ว่าเขาได้เพียง ๕-๑๐ ถัง แต่ตอนนี้ได้ขึ้นไปถึง ๔๐-๕๐ ถัง ก็ใช้ได้แล้ว ต่อไปดินก็จะไม่เปรี้ยวแล้ว เพราะว่าทำให้เปรี้ยวเต็มที่แล้ว โดยที่ขุดอะไรๆทำให้เปรี้ยวแล้วก็ระบาย รู้สึกว่านับวันเขาจะดีขึ้น ..อันนี้สิเป็นชัยชนะที่ดีใจมากที่ใช้งานได้ แล้วชาวบ้านเขาก็ดีขึ้น แต่ก่อนชาวบ้านเขาต้องซื้อข้าวเดี๋ยวนี้เขามีข้าวอาจจะขายได้"
การขยายผลในกรณีการแก้ไขดินเปรี้ยวที่ทดลองได้ผลในเขตพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯโดยการใช้น้ำจืดชะล้างกรดออกจากดินนั้น แสดงว่าน้ำจืดสามารถช่วยปรับปรุงฟื้นฟูดินให้มีคุณภาพดีขึ้นจนใช้ปลูกข้าวได้ สมควรขยายผลนำไปแนะนำเกษตรกร หรือทำการปรับปรุงแก้ไขดินเปรี้ยวในท้องที่ซึ่งมีน้ำจืดในพื้นที่ใกล้เคียง หรือในเขตจังหวัดต่างๆ ต่อไป โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครนายก ทรงมีรับสั่งว่า "ที่เราทดลองที่นี่ จะไปเป็นประโยชน์สำหรับที่อื่น อย่างที่จังหวัดนครนายก ที่เราต้องการให้นครนายกเขามีน้ำ เดี๋ยวนี้นครนายกแห้งแล้งแล้วก็เปรี้ยว ก็เมื่อเปรี้ยวแล้วเอาปูนมาใส่ก็ยังไม่ดี ที่เราศึกษานี่จะเป็นประโยชน์จะเป็นเหตุผลที่จะต้องทำโครงการ โครงการจัดน้ำมาลงที่นครนายก แล้วก็รวมทั้งทุ่งรังสิตทั้งหมด เพื่อที่จะให้มีการเพาะปลูกต่อเนื่อง จะมีการเพาะปลูกอยู่เรื่อย ดินเปรี้ยวจะหายเปรี้ยว ไม่ใช่เอะอะก็เอาปูนเข้ามาใส่อย่างที่บริษัทเขาเอาปูนมาให้เราเมื่อ ๒ ปี ๓ ปี ใช้เฉพาะปูนไม่มีประโยชน์ ก็ต้องศึกษา อันนี้ก็จะไปช่วยนครนายกได้ แต่นครนายกต้องหาน้ำใส่"
จากสาระที่นำมาเสนอนี้ย่อมช่วยให้ทุกท่านทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” ที่แท้จริง สวัสดีครับ (ค่ะ)
บทความสำหรับรายการวิทยุ เรื่องที่ 9 การพัฒนาดินเค็ม
ในโอกาสที่สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2555 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน ถึงพระอัจฉริยภาพในการพัฒนาดินที่มีปัญหาของประเทศไทย และกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติตลอดพระชนม์ชีพ และมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก ขณะเดียวกันก็ได้เสนอให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดำเนินการต่อไป เป็นที่น่ายินดีว่าองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมในโอกาสวันดินโลกครั้งแรก ที่กรุงโรม ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เพื่อให้พศกนิกรชาวไทยได้ทราบถึงพระกรณียกิจด้านการพัฒนาดิน และผลสำเร็จอันเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงขอนำเรื่องโครงการพัฒนาดินเค็ม มาเสนอท่านผู้ฟัง (ชม)
ในด้านการพัฒนาดินเค็มนั้น มีพระราชดำริให้จัดการเป็นระบบที่ประสมประสาน ทั้งพืช ดิน และ การจัดการน้ำอย่างเหมาะสม อาศัยแนวทางที่ทรงวางไว้เรื่องการวินิจฉัยสาเหตุของปัญหา ขั้นตอนของการแก้ไข และการใช้เทคนิควิธีที่เหมาะสม โครงการพัฒนาดินเค็มจึงดำเนินการโดยพิจารณาธรรมชาติและระดับความเค็มของดิน และเน้นการแก้ไขโดยการล้างดินแบบธรรมชาติในเขตดินเค็มต่ำและปานกลาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร แล้วคัดเลือกพืชเศรษฐกิจที่ทนต่อความเค็มมาปลูก สำหรับการบำรุงดินก็ส่งเสริมการใช้วัสดุอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยหมัก เป็นแหล่งธาตุอาหารพืช เนื่องจากต้นทุนต่ำและเป็นการพัฒนาดินเค็มที่มีประสิทธิภาพ
พระราชดำริเรื่องการปลูกไม้ยืนต้นและไม้โตเร็วในพื้นที่ว่างเปล่า นอกจากจะช่วยอนุรักษ์ดินและ เป็นแหล่งเชื้อเพลิงของราษฎรแล้ว ไม้ยืนต้นยังช่วยลดการกระจายและขยายขอบเขตของดินเค็มได้อย่างดียิ่ง และมีลักษณะของการป้องกันที่ยั่งยืน เนื่องจากไม้ยืนต้นช่วยลดระดับน้ำใต้ดิน มีร่มเงาปกคลุมผิวดิน น้ำจึงระเหยน้อย ทำให้การสะสมเกลือบนผิวดินน้อยลง และเพิ่มพูนอินทรียวัตถุในดินด้วย
จากสาระที่นำมาเสนอนี้ย่อมช่วยให้ทุกท่านทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” ที่แท้จริง สวัสดีครับ (ค่ะ)
บทความสำหรับรายการวิทยุ เรื่องที่ 10 การปรับปรุงดินตื้น
ในโอกาสที่สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2555 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน ถึงพระอัจฉริยภาพในการพัฒนาดินที่มีปัญหาของประเทศไทย และกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติตลอดพระชนม์ชีพ และมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก ขณะเดียวกันก็ได้เสนอให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดำเนินการต่อไป เป็นที่น่ายินดีว่าองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมในโอกาสวันดินโลกครั้งแรก ที่กรุงโรม ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เพื่อให้พศกนิกรชาวไทยได้ทราบถึงพระกรณียกิจด้านการพัฒนาดิน และผลสำเร็จอันเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงขอนำเรื่อง การปรับปรุงดินตื้น มาเสนอท่านผู้ฟัง (ชม)
ดินตื้นในที่นี้ หมายถึง ดินลูกรัง หรือเศษหิน ซึ่งจะพบมากในระดับความลึกไม่เกิน ๕๐ เซ็นติเมตร จากผิวดินในการแก้ปัญหาดินดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาหาต้นไม้ที่มีความทนต่อสภาพเช่นนั้น มาปลูกตามรอยแตกของหิน เมื่อต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดี ก็จะทำให้บริเวณนั้นมีอินทรียวัตถุที่เกิดจากซากใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมกัน ในไม่ช้าหินก็จะค่อย ๆ ปรับสภาพกลายเป็นดินต่อไป การปลูกต้นไม้ดังกล่าวจะช่วยป้องกันการกัดเซาะของน้ำตามซอกหินและชลอการไหลของน้ำจากภูเขาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
สำหรับดินลูกรังได้ทอดพระเนตรสภาพดินลูกรัง ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉพาะในเขตจังหวัดสกลนครมีอยู่ถึง ๑.๖ ล้านไร่ จึงควรพิจารณาแก้ไขปัญหาดินลูกรังโดยเร็วโดยพิจารณาดำเนินการนำเครื่องจักร เครื่องมือ มากระทุ้งดินลูกรังแล้วนำดินชั้นล่างมาผสมกับดินลูกรังข้างบน เชื่อว่า ภายใน ๒ ปี สามารถปลูกพืชได้ โดยเฉพาะต้นกระถินสามารถขึ้นได้รวดเร็วมาก ก็น่าจะทดลองดำเนินการดังตัวอย่างที่ เขาชะงุ้ม ซึ่งมีสภาพแห้งแล้ง ดินเป็นลูกรัง ก็ดำเนินการโดยยืมดินจากฝายป่าไม้ซึ่งมีหน้าดินบนเนิน แบ่งพื้นที่เป็นหลุม ๆ เอาต้นมะม่วงหิมพานต์มาปลูกไว้ เมื่อฝนลงชะหน้าดินบนภูเขาลงมาเป็นแนว ใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ต้นมะม่วงหิมพานต์ก็สามารถขึ้นได้ และที่สำคัญคือในบริเวณที่ไม่ดีไม่เหมาะที่พืชจะขึ้นได้ แต่เราก็สามารถทำให้ปลูกพืชได้ เมื่อชาวบ้านมาดูเห็นทำได้ก็จะนำไปเป็นตัวอย่างและทดลองทำในพื้นที่ของตนต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสถึงโครงการเขาชะงุ้ม เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ว่า "เรื่องต้นไม้ขึ้นเอง มีอีกแห่งหนึ่งที่ท่านทั้งหลายควรจะไปได้เพราะง่าย คือโครงการเขาชะงุ้ม ที่จังหวัดราชบุรี ที่ตรงนั้นใกล้ภูเขาเป็นที่ที่ป่าเสียไป เป็นป่าเสื่อมโทรม ที่เรียกว่าป่าเสื่อมโทรมเพราะมันไม่มีต้นไม้ ไม่มีชิ้นดี เริ่มทำโครงการนั้นประมาณ ๗ ปี เหมือนกัน ไปดูเมื่อสักสองปี หลังจากทิ้งป่านั้นไว้ ๕ ปี ตรงนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย แต่ป่าเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องไปปลูกสักต้นเดียว คือว่าการปลูกป่านี้สำคัญอยู่ที่ปล่อยให้เขาขึ้นเอง"
จากสาระที่นำมาเสนอนี้ย่อมช่วยให้ทุกท่านทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” ที่แท้จริง สวัสดีครับ (ค่ะ)
บทความสำหรับรายการวิทยุ เรื่องที่ 11 การปรับปรุงดินทราย
ในโอกาสที่สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล นักวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2555 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน ถึงพระอัจฉริยภาพในการพัฒนาดินที่มีปัญหาของประเทศไทย และกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติตลอดพระชนม์ชีพ และมีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก ขณะเดียวกันก็ได้เสนอให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ดำเนินการต่อไป เป็นที่น่ายินดีว่าองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมในโอกาสวันดินโลกครั้งแรก ที่กรุงโรม ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เพื่อให้พศกนิกรชาวไทยได้ทราบถึงพระกรณียกิจด้านการพัฒนาดิน และผลสำเร็จอันเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงขอนำเรื่อง การปรับปรุงดินทราย มาเสนอท่านผู้ฟัง (ชม)
เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพพื้นที่และการทำมาหากินของเกษตรกรในตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรในท้องที่นั้นได้ร่วมใจกันน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินประมาณ ๑,๒๒๗ ไร่ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงใช้ประโยชน์ตามพระราชอัชฌาสัย แต่ความที่พระองค์ทรงทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของราษฎรในบริเวณนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงทราบว่า ดินทรายมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และง่ายต่อการชะล้างพังทลายหากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ดังนั้น จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนเพิ่มขึ้นอีกศูนย์หนึ่ง หน้าที่สำคัญประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรดินตามแนวพระราชดำริของศูนย์นี้คือ ให้ศึกษาหาวิธีการพัฒนาที่ดิน หรือปรับปรุงบำรุงดิน พัฒนาแหล่งน้ำ และฟื้นฟูสภาพป่า เพื่อให้เกษตรกรในภูมิภาคนี้เอาไปใช้ในไร่นาของตนเอง ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า "การพัฒนาที่ทำกินของราษฎรให้มีความอุดมขึ้น โดยการพัฒนาที่ดิน พัฒนาแหล่งน้ำตลอดจนฟื้นฟูสภาพป่า และใช้หลักวิชาการเกษตรในการวางแผนการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์"
จากสาระที่นำมาเสนอนี้ย่อมช่วยให้ทุกท่านทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น ”นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” ที่แท้จริง สวัสดีครับ (ค่ะ)